อาชีพ ทรัพยากร และสังคมวัฒนธรรมทวีปอเมริกาเหนือ
วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556
อาชีพ ทรัพยากร และสังคมวัฒนธรรมทวีปอเมริกาเหนือ
อาชีพและทรัพยากร1. การเพาะปลูก มีพืชที่สำคัญ ได้แก่ - ข้าวโพด เป็นพืชเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ผลิตได้เป็นอันดับ 1 ของโลก ปลูกมากในบริเวณ ภาคกลาง โดยเฉพาะดินแดนทางตอนใต้ของทะเลสาบทั้ง 5 - ข้าวสาลี ปลูกมากบริเวณภาคกลางของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา สหรัฐอเมริกามีการปลูกข้าวสาลีฤดูหนาว (Winter wheat) ปลูกมากในเขตที่ราบภาคกลาง ที่ราบภาคใต้ และภาคตะวันออก แคนาดาปลูกข้าวสาลีฤดูใบไม้ผลิ (Spring wheat) ปลูกมากในเขตทุ่งหญ้าแพร์รีตอนกลาง
ภูมิอากาศของทวีปอเมริกาเหนือ
สภาพภูมิอากาสของทวีปอเมริกาเหนือ
ลักษณะภูมิอากาศ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศต่อทวีปอเมริกาเหนือ
1.ที่ตั้ง อเมริกาเหนือเป็นทวีปมีอาณาเขตตั้งแต่ใกล้ขั้วโลกถึงใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้มีอากาศทั้งในเขตหนาว อบอุ่น และร้อน แต่ส่วน
ใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น (ซึ่งอยู่ระหว่างเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์กับเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล)
2. ลักษณะภูมิประเทศ เทือกเขาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ โดยเฉพาะทางตะวันตก เป็นกำแพงขวางกั้นทิศทางลมที่พัดนำความชื้นจากมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้พื้นที่ภายในทวีปเป็นเขตแห้งแล้งแบบทะเลทรายและกึ่งทะเลทราย ส่วนทางตะวันออกมีเทือกเขาไม่สูงมากนัก ซึ่งวางตัวอยู่ในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ไม่ขวางกั้นทิศทางลมที่นำความชื้นจากมหาสมุทรแอตแลนติก และมีอิทธิพลต่อภูมิอากาศส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือ
3. กระแสน้ำ ชายฝั่งตะวันออกด้านมหาสมุทรแอตแลนติกของสหรัฐอเมริกา มีกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์-สตรีมไหลผ่าน ทำให้ชายฝั่งด้านนี้มีอากาศไม่หนาวเย็นมากนัก แม้จะตั้งอยู่ในละติจูดสูง ส่วนชายฝั่งตะวันออกด้านมหาสมุทรแอตแลนติกของแคนาดา มีกระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ไหลผ่าน ทำให้มีอากาศหนาวเย็นมาก บริเวณที่กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมกับกระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ ไหลมาบรรจบกัน ทำให้เป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมมากแห่งหนึ่งของโลก เรียกว่า แกรนด์ แบงก์ ทางชายฝั่งด้านมหาสมุทรแปซิฟิก มีกระแสน้ำอุ่นอะแลสกาเหนือไหลผ่าน ทำให้มลรัฐวอชิงตันของสหรัฐอเมริกาและรัฐบริติชโคลัมเบีย มีอากาศอบอุ่นไม่หนาวเย็น แม้จะอยู่ในละติจูดสูง ส่วนทางใต้มีกระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนียไหลเลียบชายฝั่ง ทำให้ชายฝั่งด้านนี้มีอากาศไม่ร้อนจัดในฤดูร้อน แม้จะตั้งอยู่ในละติจูดต่ำ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศต่อทวีปอเมริกาเหนือ
1.ที่ตั้ง อเมริกาเหนือเป็นทวีปมีอาณาเขตตั้งแต่ใกล้ขั้วโลกถึงใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้มีอากาศทั้งในเขตหนาว อบอุ่น และร้อน แต่ส่วน
ใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น (ซึ่งอยู่ระหว่างเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์กับเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล)
2. ลักษณะภูมิประเทศ เทือกเขาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ โดยเฉพาะทางตะวันตก เป็นกำแพงขวางกั้นทิศทางลมที่พัดนำความชื้นจากมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้พื้นที่ภายในทวีปเป็นเขตแห้งแล้งแบบทะเลทรายและกึ่งทะเลทราย ส่วนทางตะวันออกมีเทือกเขาไม่สูงมากนัก ซึ่งวางตัวอยู่ในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ไม่ขวางกั้นทิศทางลมที่นำความชื้นจากมหาสมุทรแอตแลนติก และมีอิทธิพลต่อภูมิอากาศส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือ
3. กระแสน้ำ ชายฝั่งตะวันออกด้านมหาสมุทรแอตแลนติกของสหรัฐอเมริกา มีกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์-สตรีมไหลผ่าน ทำให้ชายฝั่งด้านนี้มีอากาศไม่หนาวเย็นมากนัก แม้จะตั้งอยู่ในละติจูดสูง ส่วนชายฝั่งตะวันออกด้านมหาสมุทรแอตแลนติกของแคนาดา มีกระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ไหลผ่าน ทำให้มีอากาศหนาวเย็นมาก บริเวณที่กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมกับกระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ ไหลมาบรรจบกัน ทำให้เป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมมากแห่งหนึ่งของโลก เรียกว่า แกรนด์ แบงก์ ทางชายฝั่งด้านมหาสมุทรแปซิฟิก มีกระแสน้ำอุ่นอะแลสกาเหนือไหลผ่าน ทำให้มลรัฐวอชิงตันของสหรัฐอเมริกาและรัฐบริติชโคลัมเบีย มีอากาศอบอุ่นไม่หนาวเย็น แม้จะอยู่ในละติจูดสูง ส่วนทางใต้มีกระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนียไหลเลียบชายฝั่ง ทำให้ชายฝั่งด้านนี้มีอากาศไม่ร้อนจัดในฤดูร้อน แม้จะตั้งอยู่ในละติจูดต่ำ
ภูมิอากาศในอเมริกาเหนือ แบ่งออกเป็น 12 เขต ดังนี้
1. ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest Climate) เป็นภูมิอากาศที่มีฝนตกชุกและอุณหภูมิสูงตลอดปี พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าดิบชื้นพบบริเวณ ชายฝั่งตะวันออกของอเมริกากลาง บางส่วนของหมู่เกาะอินดีสตะวันตก
2. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Tropical Grassland Climate) เป็นภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิในฤดูร้อนกับฤดูหนาวแตกต่างกันมาก มีฝนตกปานกลางส่วนใหญ่ตกในฤดูร้อนและมีฤดูแล้งสลับปีละหลายเดือน พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าโปร่งสลับทุ่งหญ้า เรียกว่า ทุ่งหญ้าสะวันนา (Savanna) พบบริเวณ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเม็กซิโกและหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ชายฝั่งตะวันตกของอเมริกากลาง
3. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) เป็นภูมิอากาศร้อนแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยไม่เกิน 10 นิ้ว/ปี พืชพรรณธรรมชาติ เป็นพืชจำพวกตะบอกเพชรและไม้ประเภทมีหนาม พบบริเวณ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาและภาคเหนือของเม็กซิโก
4. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (Steppe Climate) เป็นภูมิอากาศร้อนแห้งแล้ง ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 10-15 นิ้ว/ปี พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสั้นๆ เรียกว่า ทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe) พบบริเวณ ชายขอบของทะเลทรายทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา บางส่วนของแคนาดาและเม็กซิโก
5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) เป็นภูมิอากาศร้อนจัดและแห้งแล้งในฤดูร้อน มีอากาศอบอุ่น มีฝนตกในฤดูหนาว พืชพรรณชาติ เป็นทุ่งหญ้าสลับป่าไม้พุ่มเตี้ยๆ หรือเรียกว่า ป่าแคระ (Chaparral) พบบริเวณ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตอนกลางของมลรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา
6. ภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Marine Westcoast Climate) มีอากาศในฤดูร้อน อบอุ่นถึงค่อนข้างเย็น ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี เพราะได้รับอิทธิพลจากลมประจำตะวันตก พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าสนพบบริเวณ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
7. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Humid Subtropical Climate) มีลักษณะอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง ฝนตกตลอดปีไม่มีฤดูแล้ง พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้ใบกว้างผลัดใบ พบบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ดินแดนที่อยู่ภายในทวีปมีฝนตกน้อย พืชพรรณเป็นทุ่งหญ้ายาวในเขตอบอุ่น เรียกว่า ทุ่งหญ้าแพร์รี (Prairie)
8. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป (Humid Continental Climate) ฤดูร้อนมีอุณหภูมิปานกลางถึงสูงมาก และมีฝนตก ฤดูหนาวมีอากาศหนาว พืชพรรณธรรมชาติ เป็น ป่าสนผสมป่าไม้ผลัดใบ พบบริเวณ พื้นที่ทางตะวันออกและตะวันตกของทะเลสาบทั้ง 5 ( บริเวณทางตอนใต้ของแคนาดาและตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา)
9. ภูมิอากาศแบบไทกา (Taiga Climate) หรือ ภูมิอากาศกึ่งขั้วโลก มีฤดูร้อนมีอากาศค่อนข้างเย็น มีระยะเวลาสั้น มีฝนตกน้อย ฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด มีหิมะตก พืชพรรณธรรมชาติ ป่าสน เป็นแหล่งไม้เนื้ออ่อนที่สำคัญของอเมริกาเหนือ พบบริเวณมลรัฐอะแลสกา และพื้นที่ส่วนใหญ่ทางภาคเหนือของแคนาดา
10. ภูมิอากาศแบบทุนดรา (Tundra Climate) หรือ ภูมิอากาศแบบขั้วโลก เป็นภูมิอากาศที่มีอากาศหนาวจัดตลอดปี ในฤดูร้อนไม่เดือนใดที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 10 องศาเซลเซียส พืชพรรณธรรมชาติ เป็นพวกตะไคร่น้ำ มอสส์ พบบริเวณชายฝั่งของมหาสมุทรอาร์กติกของมลรัฐอะแลสกาและแคนาดา
11. ภูมิอากาศแบบทุ่งน้ำแข็ง (Ice-cap Climate) พบบริเวณ ตอนกลางของเกาะกรีนแลนด์ มีอากาศหนาวจัดและมีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี
12. ภูมิอากาศแบบที่สูง (Highland Climate) ภูมิอากาศที่อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามความสูงของพื้นที่ทุก ๆ ความสูง 180 เมตร อุณหภูมิลดลง 1 องศาเซลเซียส
1. ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest Climate) เป็นภูมิอากาศที่มีฝนตกชุกและอุณหภูมิสูงตลอดปี พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าดิบชื้นพบบริเวณ ชายฝั่งตะวันออกของอเมริกากลาง บางส่วนของหมู่เกาะอินดีสตะวันตก
2. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Tropical Grassland Climate) เป็นภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิในฤดูร้อนกับฤดูหนาวแตกต่างกันมาก มีฝนตกปานกลางส่วนใหญ่ตกในฤดูร้อนและมีฤดูแล้งสลับปีละหลายเดือน พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าโปร่งสลับทุ่งหญ้า เรียกว่า ทุ่งหญ้าสะวันนา (Savanna) พบบริเวณ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเม็กซิโกและหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ชายฝั่งตะวันตกของอเมริกากลาง
3. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) เป็นภูมิอากาศร้อนแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยไม่เกิน 10 นิ้ว/ปี พืชพรรณธรรมชาติ เป็นพืชจำพวกตะบอกเพชรและไม้ประเภทมีหนาม พบบริเวณ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาและภาคเหนือของเม็กซิโก
4. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (Steppe Climate) เป็นภูมิอากาศร้อนแห้งแล้ง ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 10-15 นิ้ว/ปี พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสั้นๆ เรียกว่า ทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe) พบบริเวณ ชายขอบของทะเลทรายทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา บางส่วนของแคนาดาและเม็กซิโก
5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) เป็นภูมิอากาศร้อนจัดและแห้งแล้งในฤดูร้อน มีอากาศอบอุ่น มีฝนตกในฤดูหนาว พืชพรรณชาติ เป็นทุ่งหญ้าสลับป่าไม้พุ่มเตี้ยๆ หรือเรียกว่า ป่าแคระ (Chaparral) พบบริเวณ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตอนกลางของมลรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา
6. ภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Marine Westcoast Climate) มีอากาศในฤดูร้อน อบอุ่นถึงค่อนข้างเย็น ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี เพราะได้รับอิทธิพลจากลมประจำตะวันตก พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าสนพบบริเวณ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
7. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Humid Subtropical Climate) มีลักษณะอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง ฝนตกตลอดปีไม่มีฤดูแล้ง พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้ใบกว้างผลัดใบ พบบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ดินแดนที่อยู่ภายในทวีปมีฝนตกน้อย พืชพรรณเป็นทุ่งหญ้ายาวในเขตอบอุ่น เรียกว่า ทุ่งหญ้าแพร์รี (Prairie)
8. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป (Humid Continental Climate) ฤดูร้อนมีอุณหภูมิปานกลางถึงสูงมาก และมีฝนตก ฤดูหนาวมีอากาศหนาว พืชพรรณธรรมชาติ เป็น ป่าสนผสมป่าไม้ผลัดใบ พบบริเวณ พื้นที่ทางตะวันออกและตะวันตกของทะเลสาบทั้ง 5 ( บริเวณทางตอนใต้ของแคนาดาและตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา)
9. ภูมิอากาศแบบไทกา (Taiga Climate) หรือ ภูมิอากาศกึ่งขั้วโลก มีฤดูร้อนมีอากาศค่อนข้างเย็น มีระยะเวลาสั้น มีฝนตกน้อย ฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด มีหิมะตก พืชพรรณธรรมชาติ ป่าสน เป็นแหล่งไม้เนื้ออ่อนที่สำคัญของอเมริกาเหนือ พบบริเวณมลรัฐอะแลสกา และพื้นที่ส่วนใหญ่ทางภาคเหนือของแคนาดา
10. ภูมิอากาศแบบทุนดรา (Tundra Climate) หรือ ภูมิอากาศแบบขั้วโลก เป็นภูมิอากาศที่มีอากาศหนาวจัดตลอดปี ในฤดูร้อนไม่เดือนใดที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 10 องศาเซลเซียส พืชพรรณธรรมชาติ เป็นพวกตะไคร่น้ำ มอสส์ พบบริเวณชายฝั่งของมหาสมุทรอาร์กติกของมลรัฐอะแลสกาและแคนาดา
11. ภูมิอากาศแบบทุ่งน้ำแข็ง (Ice-cap Climate) พบบริเวณ ตอนกลางของเกาะกรีนแลนด์ มีอากาศหนาวจัดและมีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี
12. ภูมิอากาศแบบที่สูง (Highland Climate) ภูมิอากาศที่อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามความสูงของพื้นที่ทุก ๆ ความสูง 180 เมตร อุณหภูมิลดลง 1 องศาเซลเซียส
ภูมิลักษณ์ของทวีปอเมริกาเหนือ
ภูมิลักษณ์ทางกายภาพของทวีปอเมริกาเหนือ
ลักษณะทางกายภาพ
ลักษณะทางกายภาพ
1. ที่ตั้ง
อเมริกาเหนือเป็นทวีปที่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ ระหว่างละติจูดประมาณ 7-83
องศาเหนือ ลองจิจูด17-172 องศาตะวันตก
โดยมีเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ลากผ่านตอนกลางของประเทศเม็กซิโก
2. อาณาเขต
1) ทิศเหนือ ติดต่อกับสมุทรอาร์กติก มีน่านน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลโบฟอร์ต อ่าวแบฟฟิน อ่าวฮัดสัน ช่องแคบเดวิส และทะเลแลบราดอร์ เกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะกรีนแลนด์ เกาะแบฟฟิน เกาะวิกตอเรีย เกาะเอลสเมียร์ และหมู่เกาะควีนอลิซาเบธ ซึ่งอยู่ในเขตอากาศหนาว จึงมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจน้อย มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง
2) ทิศตะวันออก ติดต่อกับสมุทรแอตแลนติก มีเกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะนิวฟันด์แลนด์ เกาะเบอร์มิวดา และหมู่เกาะบาฮามาส
3) ทิศใต้ ติดต่อกับ มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาใต้ มีคลองปานามาเป็นแนวแบ่งเขตทวีปน่านน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก มีเกาะที่สำคัญ คือ หมู่เกาะอินดีสตะวันตก ได้แก่ เกาะคิวบา เกาะฮิสแปนิโอลา เกาะจาเมกา เกาะเปอร์โตริโก
4) ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตอนเหนือของทวีปมีช่องแคบเบริงคั่นระหว่างทวีปอเมริกาเหนือกับทวีปเอเชีย มีคาบสมุทรที่สำคัญ คือ คาบสมุทรแคลิฟอร์เนีย และคาบสมุทรอะแลสกาน่านน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลเบริง อ่าวอะแลสกา อ่าวแคลิฟอร์เนีย เกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะแวนคูเวอร์ หมู่เกาะอาลูเชียน และหมู่เกาะควีนชาร์ล็อต
3. ขนาดพื้นที่
อเมริกาเหนือเป็นทวีปที่มีขนาดเนื้อที่ประมาณ 24,247,000 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกา รูปร่างของทวีปอเมริกาเหนือคล้ายรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ คือมีฐานกว้างอยู่ทางเหนือและปลายแหลมอยู่ทางใต้ ความกว้างของทวีปตั้งแต่ช่องแคบเบริงถึงเกาะนิวฟันด์แลนด์ประมาณ 4,828 กิโลเมตร และส่วนที่แคบที่สุดที่คอคอดปานามา กว้างประมาณ 50 กิโลเมตร
4. ภูมิภาค อเมริกาเหนือแบ่งตามสภาพสังคมวัฒนธรรม มี 2 ส่วน ได้แก่ แองโกลอเมริกาและละตินอเมริกา โดยถือเอาแม่น้ำริโอแกรนด์ (Rio Grande) เป็นพรมแดนระหว่างเม็กซิโกกับสหรัฐอเมริกาเป็นแนวแบ่ง
1. แองโกลอเมริกา (Anglo-America) คือ ดินแดนที่อยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำริโอแกรนด์ ประกอบด้วยประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ
2. ละตินอเมริกา (Latin-America) คือ ดินแดนของประเทศต่างๆ ที่อยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำริโอแกรนด์ ประชากรส่วนใหญ่สืบเชื้อสายและวัฒนธรรมมาจากสเปนและโปรตุเกส ประกอบด้วย
2.1 อเมริกากลาง หมายถึง ดินแดนที่อยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำริโอแกรนด์ ได้แก่ เม็กซิโก เบลิซ คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว และปานามา
2.2 ประเทศที่ตั้งอยู่บนหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน ได้แก่ บาฮามาส บาร์เบโดส คิวบา โดมินิกัน เกรเนดา เฮติ เจเมกา เปอร์โตริโก ตรินิแดดและโตเบโก แอนติกาและบาร์บูดา โดมินิกา กวาเดอลูปมาร์ตินีก เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส เซนต์คิดส์และเนวิส เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์
2. อาณาเขต
1) ทิศเหนือ ติดต่อกับสมุทรอาร์กติก มีน่านน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลโบฟอร์ต อ่าวแบฟฟิน อ่าวฮัดสัน ช่องแคบเดวิส และทะเลแลบราดอร์ เกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะกรีนแลนด์ เกาะแบฟฟิน เกาะวิกตอเรีย เกาะเอลสเมียร์ และหมู่เกาะควีนอลิซาเบธ ซึ่งอยู่ในเขตอากาศหนาว จึงมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจน้อย มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง
2) ทิศตะวันออก ติดต่อกับสมุทรแอตแลนติก มีเกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะนิวฟันด์แลนด์ เกาะเบอร์มิวดา และหมู่เกาะบาฮามาส
3) ทิศใต้ ติดต่อกับ มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาใต้ มีคลองปานามาเป็นแนวแบ่งเขตทวีปน่านน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก มีเกาะที่สำคัญ คือ หมู่เกาะอินดีสตะวันตก ได้แก่ เกาะคิวบา เกาะฮิสแปนิโอลา เกาะจาเมกา เกาะเปอร์โตริโก
4) ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตอนเหนือของทวีปมีช่องแคบเบริงคั่นระหว่างทวีปอเมริกาเหนือกับทวีปเอเชีย มีคาบสมุทรที่สำคัญ คือ คาบสมุทรแคลิฟอร์เนีย และคาบสมุทรอะแลสกาน่านน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลเบริง อ่าวอะแลสกา อ่าวแคลิฟอร์เนีย เกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะแวนคูเวอร์ หมู่เกาะอาลูเชียน และหมู่เกาะควีนชาร์ล็อต
3. ขนาดพื้นที่
อเมริกาเหนือเป็นทวีปที่มีขนาดเนื้อที่ประมาณ 24,247,000 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกา รูปร่างของทวีปอเมริกาเหนือคล้ายรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ คือมีฐานกว้างอยู่ทางเหนือและปลายแหลมอยู่ทางใต้ ความกว้างของทวีปตั้งแต่ช่องแคบเบริงถึงเกาะนิวฟันด์แลนด์ประมาณ 4,828 กิโลเมตร และส่วนที่แคบที่สุดที่คอคอดปานามา กว้างประมาณ 50 กิโลเมตร
4. ภูมิภาค อเมริกาเหนือแบ่งตามสภาพสังคมวัฒนธรรม มี 2 ส่วน ได้แก่ แองโกลอเมริกาและละตินอเมริกา โดยถือเอาแม่น้ำริโอแกรนด์ (Rio Grande) เป็นพรมแดนระหว่างเม็กซิโกกับสหรัฐอเมริกาเป็นแนวแบ่ง
1. แองโกลอเมริกา (Anglo-America) คือ ดินแดนที่อยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำริโอแกรนด์ ประกอบด้วยประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ
2. ละตินอเมริกา (Latin-America) คือ ดินแดนของประเทศต่างๆ ที่อยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำริโอแกรนด์ ประชากรส่วนใหญ่สืบเชื้อสายและวัฒนธรรมมาจากสเปนและโปรตุเกส ประกอบด้วย
2.1 อเมริกากลาง หมายถึง ดินแดนที่อยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำริโอแกรนด์ ได้แก่ เม็กซิโก เบลิซ คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว และปานามา
2.2 ประเทศที่ตั้งอยู่บนหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน ได้แก่ บาฮามาส บาร์เบโดส คิวบา โดมินิกัน เกรเนดา เฮติ เจเมกา เปอร์โตริโก ตรินิแดดและโตเบโก แอนติกาและบาร์บูดา โดมินิกา กวาเดอลูปมาร์ตินีก เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส เซนต์คิดส์และเนวิส เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์
ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งออกเป็น 4 เขต
1) เขตหินเก่าแคนาดา (Canadian Shield) ได้แก่ พื้นที่บริเวณรอบๆ อ่าวฮัดสันลงมาถึงทะเลสาบทั้ง 5เป็นเขตหินที่เก่าแก่ที่สุดเช่นเดียวกับบอลติกชีลด์ในทวีปยุโรป ประกอบด้วยหินเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่และผ่านการสึกกร่อนมานาน ลักษณะของพื้นที่จึงเป็นที่ราบเกือบทั้งหมดและอยู่ในเขตอากาศหนาวจัด ทางตอนเหนือมีเกาะใหญ่น้อยมากมาย พื้นที่ส่วนใหญ่มีธารน้ำแข็งปกคลุม มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางและมีจำนวนน้อยมาก
2) เขตเทือกเขาภาคตะวันออก มีอาณาเขตตั้งแต่เกาะนิวฟันด์แลนด์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของแคนาดาลงมาถึงภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เป็นเขตหินเก่าแต่มีอายุน้อยกว่าเขตหินเก่าแคนาดา ประกอบด้วยเทือกเขาเตี้ยๆ ที่ผ่านการสึกกร่อนมานาน ได้แก่ เทือกเขาแอปปาเลเชียน มียอดเขาสูงสุดชื่อ ยอดเขามิตเชล อยู่ในมลรัฐนอร์ทแคโรไลนา สูง 2,005 เมตร
3) เขตเทือกเขาสูงภาคตะวันตก เป็นเขตเทือกเขาสูงที่สลับซับซ้อนกันหลายแนวที่เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลกที่มีอายุน้อย จึงเป็นเขตที่มักเกิดปรากฏการณ์แผ่นดินไหว มีอาณาบริเวณตั้งแต่ตอนเหนือสุดของช่องแคบแบริงจนถึงประเทศปานามา ได้แก่ เทือกเขาอะแลสกา มียอดเขาสูงสุดในทวีปอเมริกเหนือ ชื่อ ยอดเขาแมกคินลีย์ (6,190 เมตร) เทือกเขารอกกี เทือกเขาแคสเกต เทือกเขาเซียราเนวาดา เทือกเขาเซียรามาเดร และเทือกเขาโคสต์ ระหว่างเทือกเขาสูงเหล่ามีที่ราบสูงระหว่างเทือกเขาที่สำคัญ คือ ที่ราบสูงอะแลสกา ที่ราบสูงบริติชโคลัมเบีย ที่ราบสูงเกรตเบซิน ที่ราบสูงโคโลราโด และที่ราบสูงเม็กซิโก โดยเฉพาะที่ราบสูงโคโลราโด มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นโกรกธาร หุบเหวลึก มีหน้าผาสูงชัน ซึ่งเป็นผลมาจากการไหลของแม่น้ำโคโลราโด ทำให้เกิดการกัดเซาะดินและชั้นหิน เกิดเป็นภูมิประเทศที่สวยงาม ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ แกรนด์แคนยอน (Grand Canyon) ในมลรัฐแอริโซนา และมีอุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียงมาก คือ อุทยานแห่งชาติเยลโลสโตน เป็นอุทยานน้ำพุร้อนกีเซอร์ รวม 120 แห่ง
4) เขตที่ราบภาคกลาง เป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีอาณาเขตตั้งแต่มหาสมุทรอาร์กติกทางตอนเหนือลงมาจนถึงอ่าวเม็กซิโกทางตอนใต้ และระหว่างเทือกเขารอกกีกับเทือกเขาแอปปาเลเชียน ประกอบด้วยชั้นหินที่เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลก ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่ราบลูกคลื่น คือ บริเวณที่สูงจะอยู่ตอนเหนือและเขตติดต่อกับเทือกเขารอกกี บริเวณตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆ ประกอบด้วยเขตที่ราบ 6 เขต คือ
4.1 ที่ราบลุ่มแม่น้ำแมกเคนซี (Mackenzie Lowlands) อยู่ตอนเหนือสุดระหว่างเขตหินเก่าแคนาดากับเทือกเขาแมกคินลีย์ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแคบๆ มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง เนื่องจากมีอากาศหนาวเย็น
4.2 ที่ราบแพร์รีแคนาดา (Canadian Prairie) เป็นที่ราบใหญ่อยู่ทางภาคกลางของแคนาดา ได้แก่ บริเวณรัฐแมนิโทบา ซัสแคตเชวัน แอลเบอร์ทา เป็นเขตปลูกข้าวสาลีที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
4.3 ที่ราบลุ่มทะเลสาบทั้ง 5 และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ (Great Lakes and St.Lawrence) ทะเลสาบทั้ง 5 ได้แก่ ทะเลสาบสุพีเรีย (ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก) มิชิแกน ฮูรอน อีรี และออนแตริโอ เป็นแหล่งน้ำที่มีอาณาเขตติดต่อกัน และระหว่างทะเลสาบอีรีกับออนแตริโอมีน้ำตกขนาดใหญ่ ชื่อว่า น้ำตกไนแอการาและที่ชายฝั่งทะเลสาบออนแตริโอ มีทางระบายซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก เขตที่ราบรอบทะเลสาบทั้ง 5 และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ มีดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก และเป็นบริเวณที่การขนส่งทางน้ำภายในทวีปสำคัญที่สุดในโลก จึงเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น
4.4 ที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี-มิสซูรี (Missisippi-Missouri Plain) เป็นที่ราบที่เกิดจากแม่น้ำพัดเอาดินตะกอนมาทับถมเป็นบริเวณกว้าง เหมาะแก่การเพาะปลูก ได้แก่ แม่น้ำมิสซิสซิปปี ซึ่งมีความยาวที่สุดในอเมริกาเหนือ ยาว 3,779 กิโลเมตร ไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโก และมีแม่น้ำสาขา คือ แม่น้ำมิสซูรี โอไฮโอ เทนเนสซี อาร์คันซอส์ เป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นแห่งหนึ่งของอเมริกาเหนือ
4.5 ที่ราบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกและชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก (Gult Coast and Atlantic Plain) มีบริเวณตั้งแต่ทางตะวันออกของเทือกเขาแอปปาเลเชียนลงไปทางใต้ถึงอ่าวเม็กซิโก โดยเฉพาะที่ราบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกเป็นเขตที่มีอากาศร้อน จึงเหมาะแก่การปลูกพืชเมืองร้อน เช่น ยาสูบ ข้าวเจ้า ฝ้าย ผลไม้ต่างๆ
4.6 ที่ราบบนที่สูง (High Plains)ได้แก่ พื้นที่ทางด้านตะวันออกของเทือกเขารอกกี ซึ่งเป็นเขตเงาฝนหรือเขตอับลม ทำให้มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีต่ำ เป็นเขตเหมาะสำหรับปลูกข้าวสาลี โดยใช้เครื่องจักรทุ่นแรงในการเพาะปลูกแบบไร่ขนาดใหญ่
1) เขตหินเก่าแคนาดา (Canadian Shield) ได้แก่ พื้นที่บริเวณรอบๆ อ่าวฮัดสันลงมาถึงทะเลสาบทั้ง 5เป็นเขตหินที่เก่าแก่ที่สุดเช่นเดียวกับบอลติกชีลด์ในทวีปยุโรป ประกอบด้วยหินเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่และผ่านการสึกกร่อนมานาน ลักษณะของพื้นที่จึงเป็นที่ราบเกือบทั้งหมดและอยู่ในเขตอากาศหนาวจัด ทางตอนเหนือมีเกาะใหญ่น้อยมากมาย พื้นที่ส่วนใหญ่มีธารน้ำแข็งปกคลุม มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางและมีจำนวนน้อยมาก
2) เขตเทือกเขาภาคตะวันออก มีอาณาเขตตั้งแต่เกาะนิวฟันด์แลนด์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของแคนาดาลงมาถึงภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เป็นเขตหินเก่าแต่มีอายุน้อยกว่าเขตหินเก่าแคนาดา ประกอบด้วยเทือกเขาเตี้ยๆ ที่ผ่านการสึกกร่อนมานาน ได้แก่ เทือกเขาแอปปาเลเชียน มียอดเขาสูงสุดชื่อ ยอดเขามิตเชล อยู่ในมลรัฐนอร์ทแคโรไลนา สูง 2,005 เมตร
3) เขตเทือกเขาสูงภาคตะวันตก เป็นเขตเทือกเขาสูงที่สลับซับซ้อนกันหลายแนวที่เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลกที่มีอายุน้อย จึงเป็นเขตที่มักเกิดปรากฏการณ์แผ่นดินไหว มีอาณาบริเวณตั้งแต่ตอนเหนือสุดของช่องแคบแบริงจนถึงประเทศปานามา ได้แก่ เทือกเขาอะแลสกา มียอดเขาสูงสุดในทวีปอเมริกเหนือ ชื่อ ยอดเขาแมกคินลีย์ (6,190 เมตร) เทือกเขารอกกี เทือกเขาแคสเกต เทือกเขาเซียราเนวาดา เทือกเขาเซียรามาเดร และเทือกเขาโคสต์ ระหว่างเทือกเขาสูงเหล่ามีที่ราบสูงระหว่างเทือกเขาที่สำคัญ คือ ที่ราบสูงอะแลสกา ที่ราบสูงบริติชโคลัมเบีย ที่ราบสูงเกรตเบซิน ที่ราบสูงโคโลราโด และที่ราบสูงเม็กซิโก โดยเฉพาะที่ราบสูงโคโลราโด มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นโกรกธาร หุบเหวลึก มีหน้าผาสูงชัน ซึ่งเป็นผลมาจากการไหลของแม่น้ำโคโลราโด ทำให้เกิดการกัดเซาะดินและชั้นหิน เกิดเป็นภูมิประเทศที่สวยงาม ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ แกรนด์แคนยอน (Grand Canyon) ในมลรัฐแอริโซนา และมีอุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียงมาก คือ อุทยานแห่งชาติเยลโลสโตน เป็นอุทยานน้ำพุร้อนกีเซอร์ รวม 120 แห่ง
4) เขตที่ราบภาคกลาง เป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีอาณาเขตตั้งแต่มหาสมุทรอาร์กติกทางตอนเหนือลงมาจนถึงอ่าวเม็กซิโกทางตอนใต้ และระหว่างเทือกเขารอกกีกับเทือกเขาแอปปาเลเชียน ประกอบด้วยชั้นหินที่เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลก ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่ราบลูกคลื่น คือ บริเวณที่สูงจะอยู่ตอนเหนือและเขตติดต่อกับเทือกเขารอกกี บริเวณตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆ ประกอบด้วยเขตที่ราบ 6 เขต คือ
4.1 ที่ราบลุ่มแม่น้ำแมกเคนซี (Mackenzie Lowlands) อยู่ตอนเหนือสุดระหว่างเขตหินเก่าแคนาดากับเทือกเขาแมกคินลีย์ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแคบๆ มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง เนื่องจากมีอากาศหนาวเย็น
4.2 ที่ราบแพร์รีแคนาดา (Canadian Prairie) เป็นที่ราบใหญ่อยู่ทางภาคกลางของแคนาดา ได้แก่ บริเวณรัฐแมนิโทบา ซัสแคตเชวัน แอลเบอร์ทา เป็นเขตปลูกข้าวสาลีที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
4.3 ที่ราบลุ่มทะเลสาบทั้ง 5 และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ (Great Lakes and St.Lawrence) ทะเลสาบทั้ง 5 ได้แก่ ทะเลสาบสุพีเรีย (ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก) มิชิแกน ฮูรอน อีรี และออนแตริโอ เป็นแหล่งน้ำที่มีอาณาเขตติดต่อกัน และระหว่างทะเลสาบอีรีกับออนแตริโอมีน้ำตกขนาดใหญ่ ชื่อว่า น้ำตกไนแอการาและที่ชายฝั่งทะเลสาบออนแตริโอ มีทางระบายซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก เขตที่ราบรอบทะเลสาบทั้ง 5 และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ มีดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก และเป็นบริเวณที่การขนส่งทางน้ำภายในทวีปสำคัญที่สุดในโลก จึงเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น
4.4 ที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี-มิสซูรี (Missisippi-Missouri Plain) เป็นที่ราบที่เกิดจากแม่น้ำพัดเอาดินตะกอนมาทับถมเป็นบริเวณกว้าง เหมาะแก่การเพาะปลูก ได้แก่ แม่น้ำมิสซิสซิปปี ซึ่งมีความยาวที่สุดในอเมริกาเหนือ ยาว 3,779 กิโลเมตร ไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโก และมีแม่น้ำสาขา คือ แม่น้ำมิสซูรี โอไฮโอ เทนเนสซี อาร์คันซอส์ เป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นแห่งหนึ่งของอเมริกาเหนือ
4.5 ที่ราบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกและชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก (Gult Coast and Atlantic Plain) มีบริเวณตั้งแต่ทางตะวันออกของเทือกเขาแอปปาเลเชียนลงไปทางใต้ถึงอ่าวเม็กซิโก โดยเฉพาะที่ราบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกเป็นเขตที่มีอากาศร้อน จึงเหมาะแก่การปลูกพืชเมืองร้อน เช่น ยาสูบ ข้าวเจ้า ฝ้าย ผลไม้ต่างๆ
4.6 ที่ราบบนที่สูง (High Plains)ได้แก่ พื้นที่ทางด้านตะวันออกของเทือกเขารอกกี ซึ่งเป็นเขตเงาฝนหรือเขตอับลม ทำให้มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีต่ำ เป็นเขตเหมาะสำหรับปลูกข้าวสาลี โดยใช้เครื่องจักรทุ่นแรงในการเพาะปลูกแบบไร่ขนาดใหญ่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)